วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2551

หลักสูตรที่เปิดสอน

1.หลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
..
1.1 แขนงวิชาเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม ... รายละเอียด
1.2 แขนงวิชาเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ ... รายละเอียด
1.3 แขนงวิชาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ... รายละเอียด
1.4 แขนงวิชาการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ... รายละเอียด

2. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

2.1 คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาคปกติ 4 ปี ... รายละเอียด
2.2 คอมพิวเตอร์ธุรกิจ 2 ปี หลังอนุปริญญา ... รายละเอียด

วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2551

บทความเรื่อง: เด็กไทยกับไอที ห้องเรียนวันนี้......ไม่มีใครอยากโดด

เขียนโดย แดงเดช พุทธารักษ์ วารสาร การศึกษานอกโรงเรียน ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 เดือนสิงหาคม 2544
สรุปบทความ....เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกลไกที่สำคัญที่ประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสร้างพัฒนาการ ด้านต่างๆในวงกว้าง โดยเฉพาะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอนกระตุ้นความสนใจศึกษาและสร้างความเข้าใจให้นักเรียนได้มากยิ่งขึ้น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)ได้ริเริ่มโครงการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอน ตั้งแต่ปี 42 เป้าหมายก็เพื่อมุ่งส่งเสริมให้โรงเรียนต่างๆนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการสอนในวิชาต่างๆ Dr. Robert B.Kozma กล่าวว่า" การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้พัฒนาการศึกษาอย่างได้ผลนั้น ครูต้องสนับสนุนให้เด็กใช้ไอทีในฐานะ" เครื่องมือ" เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และครูเป็นคู่คิด เพื่อหาความรู้ไปด้วยกัน" เช่น การสอนเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างโดยใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อการเรียน การสอนภาษาไทยให้นักเรียนแต่งกลอนสุภาพ แต่กระทู้โดยแสดงผลงานไว้ในเว็บ ให้นักเรียนดูการบ้านที่เว็บบอรด์ แนะนำเว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์สืบค้น เพื่อให้นักเรียนได้ขวนขวายแสวงหาความรู้ และยังมีแนวการสอนในวิชาอื่นๆอีกมากมาย ทุกเป้าหมายที่ไปสู่ความสำเร็จได้ล้วนเริ่มต้นจากก้าวแรกของความพยายามทั้งสิ้นถ้าทุกหน่วยช่วยกันที่จะพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้กว้างขวางต่อไป ความคิดเห็น.....จากบทความนี้ได้มุมมองด้านไอทีกับการเรียนการสอนในห้องเรียนปัจจุบันว่า การเรียนการสอนมิได้มีแต่เพียงในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว นักเรียนยังสามารถเรียนรู้ในสิ่งที่ตนชอบและสนใจได้มากขึ้นโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และมีครูคอยเป็นผู้แนะนำ ทำให้การเรียนรู้ไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่ออีกต่อไป และครูก็ยังเกิดความคิดสร้างสรร สร้างศักยภาพในการสอนเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทันสมัย และนี่ก็เป็นจุดหนึ่งที่จะส่งเสริมให้นักเรียนรักที่จะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีความกระตือลือร้นอยู่ตลอดเวลา เพราะความน่าสนใจของแหล่งศึกษาอยู่แค่เพียงปลายนิ้วสัมผัส และเมื่อปลูกฝังการรักที่จะแสวงหาความรู้จนเป็นนิสัยแล้ว ในวัยทำงานก็จะแสวงหาการพัฒนาเพื่อความก้าวหน้าของประเทศต่อไป แต่ทั้งนี้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นในประเทศไทยยังไปได้ไม่ทั่วถึง ยังต้องใช้ความพร้อมของประเทศอีกมากในการที่จะพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวงการศึกษา